วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

“ไพล” สุดยอดสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านาน

ไพล เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับความนิยมมาก ตำหรับยาส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีส่วนผสมของไพลโดยส่วนใหญ่ ทำให้ทราบได้ว่า สรรพคุณและประโยชน์ของไพลมีมากมายเป็นอย่างมาก ในความเชื่อของชาวบ้านทางอีสานบางแห่ง เชื่อว่า การปลูกไพลไว้หน้าบ้านสามารถช่วยป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้เข้ามาใกล้ และป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้ ดังนั้น ลองมาดูรายละเอียดว่าประโยชน์ของไพลมีอะไรบ้าง
ไพล หรือ ว่านไพล ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root และมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน, แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ ไพลเหลือง(ภาคกลาง) ปูเลย ปูลอย(ภาคเหนือ) ว่านปอบ(ภาคอีสาน) เป็นต้น ไพล เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อมีสีเหลืองหรือเหลืองแกมเขียว ลำต้นขึ้นเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า และเมล็ด ดอกออกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวลใบประดับสีม่วง
5.2
ช่วยแก้อาเจียน อาการอาเจียนเป็นโลหิต แก้อาการปวดฟัน ช่วยขับโลหิต  รักษาโรคที่เกี่ยวกับโลหิตออกทางปากและจมูก รักษาหอบหืด แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด แก้อาการท้องผูก สมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ ขับระดู ประจำเดือนของสตรี ขับเลือดร้ายทั้งหลายและแก้มุตกิดระดูขาว ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง เมื่อยขบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี ช่วยดูดหนอง แก้ผดผื่นคัน ใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ รักษาโรคเหน็บชา ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ใช้เป็นยาสมานแผล ช่วยลดการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ ช่วยต้านเชื้อราและแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ ช่วยต้านฮิสตามินในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด สามารถช่วยลดขนาดของตุ่มนูนจากการฉีดน้ำยาฮิสตามินเข้าใต้ผิวหนัง ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการหอบน้อยลงและการทำงานของปอดดีขึ้น ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยไล่แมลง ฆ่าแมลง ช่วยกันยุง และช่วยไล่ยุง เป็นต้น
Beauty woman hands with health skin on pink background
สรรพคุณของดอก : ช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน
สรรพคุณของต้น : ช่วยแก้ธาตุพิการ ช่วยแก้อุจจาระพิการ
สรรพคุณของใบ : ช่วยแก้ไข้ แก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย แก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว
สรรพคุณของราก : ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล
1.รักษาหอบหืด : ใช้เหง้าแห้ง 5 ส่วน ดีปลี 2 ส่วน พริกไทย 2 ส่วน กานพลู ½ ส่วน พิมเสน ½ ส่วน นำมาบดผสมรวมกันใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อนแล้วรับประทานหรือจะปั้นเป็นยาลูกกลอน ด้วยการใช้น้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วรับประทาน ครั้งละ 2 ลูก โดยต้องรับประทานติดต่อกันเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
5.4
2.ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ : ใช้เหง้านำมาบด เป็นผงแล้วรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ด้วยการนำมาชงกับน้ำร้อนและผสมเกลือด้วยเล็กน้อย แล้วนำมาดื่ม
3.ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด : ใช้เหง้าสด 4-5 แว่น นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชา แล้วนำมารับประทาน หรือจะฝนกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้
4.ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง : นำหัวไพลมาฝน แล้วนำไปทาบริเวณที่ฟกช้ำบวม หรือเคล็ดขัดยอก หรือใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบางๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ หรือ นำมาตำให้ละเอียดและผสมเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบ แล้วอังไอน้ำให้ความร้อนนำมาใช้ประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวม และบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย
– ใช้ทำเป็นน้ำมันไพลทาบริเวณที่เป็น ด้วยการใช้ไพล 2 กิโลกรัม นำมาทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ให้ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก และใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา และทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที เสร็จแล้วนำมากรอรอจนน้ำมันอุ่นๆ และใส่การบูรลงไป 4  ช้อนชา แล้วใสภาชนะปิดให้มิดชิด รอจนเย็นแล้วจึงเขย่าการบูรให้ละลาย แล้วนำน้ำมันไพลมาทาถูนวด วันละ 2 ครั้ง เวลามีอาการปวด เช้า-เย็น
5.5
5.แก้ผดผื่นคัน : ใช้เหง้ามาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือ จะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาดฝนแล้วทาบริเวณที่เป็น
6.ใช้เป็นยาสมานแผล : ใช้เหง้าสด 1 แง่ง (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูร อย่างละครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง วันละ 1 ครั้ง
7.ใช้ต้มน้ำอาบสำหรับสตรีหลังคลอด
– ไม่ควรรับประทานจำนวนมากหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจเกิดพิษต่อตับได้ และไม่ควรทานเดี่ยวๆ เป็นระยะเวลานาน ควรมีการขจัดสารที่เป็นพิษต่อตับออกก่อน
– ห้ามทาครีมที่มีส่วนผสมของไพลใกล้ขอบตา เนื้อเยื่ออ่อน หรือผิวหนังที่มีบาดแผล
– สตรีมีครรภ์และสตรีที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น